ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้
1.
ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
เทศบัญญัติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง
เป็นกฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง
โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยและการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของรัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย
พระราชบัญญัติ
หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ
แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า
ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย
พระราชกำหนด
หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี) พระราชกำหนดมีอยู่ 2 ประเภท
คือ พระราชกำหนดทั่วไป และพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีและเงินตรา
พระราชกฤษฎีกา
หมายถึง กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เทศบัญญัติ หมายถึง
กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ.2496 ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
พ.ศ.2542
2. กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ
ปัจจุบันเป็นอย่างไร
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร
หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ปัจจุบัน
ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใช้บังคับและถือเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศใน
ระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
นับแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมา
รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรีและทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
ดังนั้นในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ คือ
ต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากที่สุด คือต้องเคารพในสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค
ของคนในประเทศเป็นส่วนใหญ่ เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศไทย
กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม แก้ไขข้อขัดแย้งในสังคม
หากไม่มีรัฐธรรมนูญ ดิฉันคิดว่า บ้านเมืองคงเกิดความวุ่นวาย ไม่สงบสุข
มีการเอารัดเอาเปรียบ แช่งดีชิงเด่น แย่งอำนาจ ใช้อำนาจในทางที่ผิด และบุคคลจะทำสิ่งใดก็ทำตามอำเภอใจ
ไม่นึกถึงคนอื่น คิดแต่ประโยชน์ส่วนตนกันเป็นส่วนมาก
รัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลยึดถือ
และทำสิ่งที่ตั้งอยู่ในความถูกต้องตามกฎระเบียบ
3. ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112
มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
การแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรานี้มีข้อโต้แย้งกันหลายฝ่าย
ทั้งประชาชนและนักวิชาการที่ต้องการแก้ไขว่าด้วยเรื่อง
องค์พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องในทางใดๆมิได้
ในความเห็นของดิฉัน ดิฉันคิดว่าไม่ควรแก้ไข
เพราะว่าเป็นกฎหมายที่ป้องกันพระมหากษัตริย์
ขนาดมีมาตรา112นักการเมืองบางพรรคยังหมิ่นพระเจ้าอยู่หัวกันไม่เว้นแต่ละวัน
และดิฉันควรเปลี่ยนจากการระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี เป็นประหารชีวิต
ในขณะเดียวกันประเด็นนี้เป็นข้อโต้แย้งกันหลายฝ่าย
มีการต่อต้านไม่ต้องการให้แก้ไขเพราะคนไทยส่วนใหญ่เทิดทูน และรักพระมหากษัตริย์
4. กรณี
เกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็น
กรณีพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร
และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
สำหรับดิฉัน
ดิฉันคิดว่าปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ยิ่ง เพราะเป็นปัญหาที่ต้องขึ้นศาลโลก
เป็นเรื่องของผลประโยชน์ ทรัพย์สมบัติของชาติ ซึ่งแต่ละชาติก็อยากทวงสิทธิ์ของตนที่ควรจะได้
แต่ดินแดนแห่งซึ่งเป็น บริเวณรอบปราสาทรพระวิหารในเขตพื้นที่ 4.6 ตร.กม.
ก็ยังตกลงเขตแดนที่แน่ชัดไม่ได้สักที
และกัมพูชาต้องการจะเพลี่ยงพล้ำมาในเขตดินแดนไทย
ในการที่จะให้ดินแดนนี้เป็นของไทยสามารถปกป้องและมีโอกาสที่จะได้มันคืนโดยที่ไม่เสียดินแดนนี้ไปมีสูง
แต่ไทยต้องพยายามดำเนินการทวงสิทธิ์ไปตามขั้นตอนและกฎหมายต่อไป สู้จนถึงที่สุด
ยกหาเหตุผลที่น่าเชื่อถือในการแก้ปัญหาและหลักฐานทุกอย่างที่พิสูจน์ได้มาทวงสิทธิ์
อย่าได้ยอมแพ้เพื่อทรัพย์สมบัติของชาติ
นอกจากนี้ไม่ควรใช้ความรุนแรงมากจนเกินไป
เพื่อผลประโยชน์แก่ประเทศตนเองและส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นให้น้อยที่สุด
5.
พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา
ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ดิฉันเห็นด้วย กับ “ พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ” ค่ะ เพราะในรัฐธรรมนูญก็ได้ระบุสาระสำคัญของการศึกษาไว้
และพระราชบัญญัติการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นมาโดยใช้รัฐ
ธรรมนูญการศึกษา
เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษาขึ้นมา
และมีการประกาศใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่รัฐได้ตราขึ้นไว้เป็นข้อ
บังคับกำหนดความประพฤติบุคคลให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องสมควร กฎระเบียบต่างๆ
หากกระทำผิดก็จะได้พิจารณาไปตามกฎหมายเช่นเดียวกัน
และใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาศักยภาพคนไทย
6.
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน
การประกันคุณภาพภายนอก ผู้สอน ครู
คณาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ เช่น
การถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม
การเรียนรู้โดยอการสร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากตัวเอง หรือจัดมาจากคนอื่นและสิ่งแวดล้อม
เป็นต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพ
ความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง เป็นการศึกษาช่วงก่อนประถมศึกษา
ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวะ หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา การศึกษาตลอดชีวิต หมาย ถึง เป็นการศึกษาที่รวมระหว่าง
การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย รวมเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้คุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนได้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ
หมายถึง เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล
ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ หมายถึง
เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีวิธีการจัดการศึกษา
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษา
โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพปัญหา
ความต้องการของบุคลแต่ล่ะกลุ่ม การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง
เป็นการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการ ความสนใจของตนเอง
โดยจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆหรือที่ผู้ปกครองสนับสนุน
สถานศึกษา หมายถึง เป็นสถานที่ในจัดการการเรียนรู้ เช่น
โรงเรียน สถาบัน มหาวิทยาลัย วิทยาลัย ศูนย์การเรียนรู้ เป็นต้น
ซึ่งอาจจะเป็นของรัฐหรือเอกชนจัดให้ก็ได้
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
หมายถึง เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา หมายถึง มาตรฐานหรือข้อกำหนด เช่น คุณลักษณะ
คุณภาพ ที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
เพื่อใช้เป็นในการประกันคุณภาพ
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผล การติดตามตรวจสอบคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยคนในสถานศึกษาเป็นผู้ประเมินเอง
หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผล การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก
โดยคนภายนอก หรือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู หมายถึง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน
ส่งเสริมการเรียนรู้ผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายถึง
เป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนและวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
ระดับปริญญาตรี ทั้งรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง
เป็นบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง
เป็นบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง
ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา
รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ
หรือปฏิบัติการจัดกระบวนการเรียนการสอน
การนิเทศและการบรอหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
7. ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา
อย่างไร
สำหรับความมุ่งหมายในการจัดการศึกษานั้น
ดิฉันคิดว่าต้องจัดการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยทุกคน
โดยต้องพัฒนาทุกคนให้สมบูรณ์ทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ จิตใจ
มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ของการศึกษาหลักสำคัญในการจัดการศึกษา
(ตามมาตรา 8) กำหนดไว้ 3 ประการ คือการศึกษาตลอดชีวิต การมีส่วนร่วม
และการพัฒนาต่อเนื่อง ดังนี้
1.
การศึกษาตลอดชีวิต
ถือว่าการจัดการศึกษานั้นเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
หลักการคือคนทุกคนต้องได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษานี้ต้องครอบคลุมทุกด้าน มิใช่เฉพาะชีวิตการงานเท่านั้น
เพราะไม่เพียงบุคคลต้องพัฒนาตนเองและความสามารถในการประกอบอาชีพของตน
คนแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชุมชนและประเทศ
2. การมีส่วนร่วม
สังคมต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เช่น ร่วมเป็นกรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็น
ร่วมสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา ร่วมสนับสนุนทรัพยากร ร่วมติดตามประเมิน
ส่งเสริมให้กำลังใจและปกป้องผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม
ดังนั้นจึงเป็นทั้งสิทธิและหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะเข้ามีส่วนร่วมใน ลักษณะต่าง
ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อแก้ไขปัญหา
3. การพัฒนาต่อเนื่อง
การศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลาให้ทันกับความรู้ที่ก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง
ดังนั้น
การจัดการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การพัฒนานี้มีทั้งการค้นคิดสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ การประยุกต์ปรับปรุงเนื้อหาสาระที่มีอยู่
และการติดตามเรียนรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นมาแล้ว
8.
มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู
หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
ไม่ถือว่าทำผิดกฎหมาย
แต่จะอยู่ในฐานะครูอัตราจ้างที่ได้ทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือเช่นเดียวกัน
และยังคงให้ทำหน้าที่สอนหนังสือต่อไปโดยไม่ต้องลงโทษอะไร เพราะ
ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ.ศ.2546
ได้กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
1.
ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2.
ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3. นักเรียน นักศึกษา
หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด 4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย 5.
ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว
ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์
และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด 6. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7.
ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา 8. บุคคล
อื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ซึ่งผู้ที่เข้าไปสอนอาจจะกระทำในกรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย
ซึ่งก็ไม่ต้องแก้ไขอะไร แต่หากว่าอยากจะเข้าไปสอนในสถานศึกษาเป็นกรณีประจำก็ควรจะไปสอบบรรจุให้
เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง
9.
หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
1.
เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ.
2547
2.
เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู 3.
เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา 4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
10.
ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง
ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม
และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้
ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร ในการเรียนวิชา กฎหมายการศึกษานี้ ดิฉันคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาเป็นอย่างมากค่ะ
เพราะการที่จะเป็นครูในอนาคต
เราจำเป็นจะต้องยึดปฏิบัติตามหลักสำคัญในหน้าที่ของครูที่ว่าด้วยการประพฤติ
ปฏิบัติตนตามกฎหมายด้วย และยังเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อและการสอบบรรจุต่างๆ
สำหรับสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้ในวิชานี้ คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ
และบทกฎหมายต่างๆที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นประชาชนและทางการศึกษา
ในการใช้สื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสมกับวิชานี้มาก
เพราะการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่มีเนื้อหารายละเอียดมาก หากใช้หนังสือ
แล้วให้นักเรียนอ่านเองในหนังสือ มันคงทำให้นักเรียนรู้สึกเบื่อ
หรือใบความรู้ที่ผ่านการถ่ายเอกสารให้นักเรียนอ่าน คงจะมีแต่เนื้อหาเยอะมาก
เห็นแล้วมันอาจจะทำนักเรียนคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ
คงเกิดคำถามขึ้นในใจว่าทำไมมันยากจัง การใช้สื่อคอมพิวเตอร์ Weblog จึงทำให้นักเรียนรู้สึกเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ ไม่เบื่อกับการเรียน
มีอิสระในการเรียนและมีความสะดวก สบายและมีความรวดเร็ว
ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาได้ใช้กระบวนการคิดมากกว่าการอ่านเพียงอย่างเดียว คือ
เมื่ออาจารย์ให้ศึกษาเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้ อาจารย์จะให้ตอบคำถามด้วย
ซึ่งถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาได้ทบทวนหรือถ่ายทอดองค์ความรู้ออกมาเป็นตัวหนังสือไว้ใน
Weblog หลังจากที่ได้อ่านเนื้อหาไปแล้ว
นอกจากนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นได้
พูดได้ว่าเป็นความคิดที่ดี และมีความทันสมัย ตรงตามความต้องการของผู้เรียน
และถ้าให้คะแนนตัวเองกับการเรียนวิชานี้ คิดว่า ควรได้เกรด A เพราะว่า ตั้งใจเรียนวิชานี้ ไม่ขาดเรียน
และรีบทำงานที่ครูได้มอบหมายให้โดยเร็วด้วยตนเอง ด้วยความพยายาม และความรับผิดชอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น