คำชี้แจง ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์
(100 คะแนน)
1.กฎหมายคืออะไร
จงอธิบาย
และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
กฎหมาย คือ
บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและใช้ บังคับความประพฤติของบุคคล อันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ และเมื่อปฏิบัติตามก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อสังคม
การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ
คือ ประชาชนทุกคนจะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
อันเป็นการปกป้องสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของบุคคลไม่ว่าเขาจะเป็นใคร
ไม่ว่าเขาจะยากจนหรือร่ำรวยหรือไม่ว่าเขาจะมีการศึกษาสูงหรือต่ำ
โดยที่ไม่มีผู้ใดจะได้รับสิทธิ์ในการปฏิบัติตามกฎหมายเหนือผู้ใด การที่จะทำให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์นั้น
ฉันคิดว่าประชาชนควรเคารพ เชื่อฟัง ปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องมีการบังคับ
แม้การปฏิบัติบางครั้งอาจจะเกิดจากความไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติ
แต่หากเป็นคำสั่งหรือคำบัญชาแล้ว ผู้รับคำสั่งหรือคำบัญชา
ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ตั้งไว้ หากขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดสภาพบังคับของกฎหมาย
อันอาจจะเป็นผลร้ายต่อผู้ฝ่าฝืนคำสั่งนั้น
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ
และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
เห็น
ด้วย การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
เพราะใบประกอบวิชาชีพเป็นหลักฐานการอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
และบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ดังนั้นใบประกอบวิชาชีพจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญที่บ่งบอกว่าเราเหมาะสมที่จะ
เป็นผู้นำและสร้างความเชื่อถือให้กับผู้คน หรือประชาชน
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
แนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่น มีดังนี้
1. ศึกษาความต้องการ
ความจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
2.
จัดประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
3. ดำเนินการวางแผนการระดมทุน
และทรัพยากร โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรชุมชน สถาบันศาสนา
องค์กรเอกชน และการบริจาคทรัพย์
4.ดำเนินการตามแผนการปฏิบัติการ
โดยจัดประชุมผู้ปกครอง ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อหาแนวร่วมในการให้ความร่วมมือระดมทุนและทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อทำข้อตกลงร่วมกัน
5. ประเมินผลการดำเนินงาน
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
การจัดการศึกษามี 3รูปแบบ
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกษานอกระบบ
3.
การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ จะแบ่งการศึกษาเป็น 2
ระดับ คือ
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี
ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา
หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่า
ปริญญา และปริญญา
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
แตกต่างกัน คือบุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และเรื่องการศึกษาภาคบังคับที่กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติว่า “ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้
ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ…”
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว
อธิบายยกตัวอย่าง
มีการแบ่งส่วนราชการ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการ ดังนี้
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
มี "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ"
เป็นหัวหน้าส่วนราชการ
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546
เพื่อใช้เป็นกรอบหรือแนวปฏิบัติให้กับบุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพ
ทำให้เกิดการบริหารบุคคลมีประสิทธิภาพและไม่ล้าช้าเกินไป
และในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาของชาติ
จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม
จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงข้นและสืบทอดประวัติศาสตร์และ
เจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า
ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราวหรือไปสอนเป็นประจำ
หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ฉันคิดว่าไม่มีความผิด
หากพิจารณาตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พุทธศักราช ๒๕๔๖ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.
ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป้นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2.
ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3.
นักเรียน นักศึกษา
หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ไดรับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในการควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4.
ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5.ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว
ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์
และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน
อะไรบ้าง
โทษทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. 2551 มี 5 สถาน
คือ 1. ภาคทัณฑ์เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน นอกจากนี้
ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ
จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
2. ตัดเงินเดือน เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา 2 เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ
3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ เช่น ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอัตราเงินเดือนของผู้กระทำผิด
4. ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ
2. ตัดเงินเดือน เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา 2 เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ
3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ เช่น ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอัตราเงินเดือนของผู้กระทำผิด
4. ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ
10.ท่านเข้าใจคำว่า
เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย
ตามความเข้าของท่าน
(1.)
“เด็ก” คือ
บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วย
การสมร
(2.)
“เด็กเร่ร่อน” คือ เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้
จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆหรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
(3.)
“เด็กกำพร้า” คือ
เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
(4.) “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก”
คือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง
ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญาหรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
(5.)
“เด็กพิการ” คือ
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ
ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
(6.)
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” คือ
เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะ
ชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อม
หรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหายทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(7.)
“ทารุณกรรม” คือ
การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ
หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะ
เป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีทั้งนี้ไม่
ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น